วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม

เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการของปั๊มลมแบบลูกสูบโดยจะใช้ไดอะเฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกันนั้น หมายถึงว่า ลมที่ถูกดูดในปั๊มอัดลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น ด้วยเหตุนี้ปั๊มลม แบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น


วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อปั๊มลม

การจะตัดสินใจซื้อปั๊มลมหรือเครื่องมือลมนั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้

     >> ประการแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องของแรงดันสูงสุด (max working pressure) ที่ต้องการใช้งาน เพื่อที่จะได้ตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องอัดลมแบบ single stage หรือ two stage

     >> ประการที่สองคือ ต้องทราบถึงปริมาณลม (max air consumption หรือ max capacity) เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าจะซื้อเครื่องอัดลมขนาดใหญ่หรือเล็ก เป็นระบบ reciprocating type ซึ่งจะมีทั้ง oil flood, oil free, oil less type หรือ rotary screw type

    >> ประการที่สามคือ ต้องการ clean air system ขนาดไหน ซึ่งจะมี accessories เพิ่มเติมดังนี้   
          
          - ถังบรรจุลม (air tank) ถ้าต้องการเพิ่มปริมาตรลม
          - เครื่องลดอุณหภูมิลม (air after coller) เพื่อลดอุณหภูมิลม
          - เครื่องทำลมแห้ง (air dryer) เพื่อกำจัดน้ำออกจากระบบลมและเลือก dew point ที่ต้องการ สามารถเลือกใช้เป็น refridgeration conpressed air dryer ซึ่งจะทำให้ dew point ต่ำสุดที่ 2?C ถ้าต้องการจุด dew point ที่ต่ำกว่าก็จะต้องใช้เป็น desiccant compressed air dryer ซึ่งจะสามารถทำจุด dew point ได้ต่ำถึง
          - ตัวกรองลม (air filter) สามารถกรองได้ตั้งแต่หยาบไปถึงละเอียด แยกเป็น seperator filter, air line filter, high efficiency oil removal filter และ ultra high efficiency oil removal filter ซึ่งทั้งหมดสามารถดักหรือกรองฝุ่น (ทั้งของแข็งและของเหลว) 3?0.01 ไมครอน คงเหลือน้ำมันอยู่ในปริมาณ 5?0.001 ppm w/w (mg/m?) และอาจเพิ่มตัวดักกลิ่น (activated carbon filter) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยาหรือห้องทดลองต่าง ๆ 



วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การทำงานของปั๊มลมแต่ละประเภท

การทำงานของปั๊มลมทั้ง 6 ประเภท


>> การทำงานปั้มลมแบบลูกสูบ
ลูกสูบจะมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง ทำให้เกินการดูดและอัดภายในกระบอกสูบ โดยที่ ช่วงการดูดอากาศ ลิ้นช่องดูดเข้าจะทำการเปิดออกเพื่อดึงอากาศเข้ามาภายในกระบอกสูบ แต่ลิ้นทางด้านอัดอากาศออกจะปิดสนิท จากนั้นเมื่อถึงช่วงการอัดอากาศ ตัวลุกสูบจะดันอากาศให้ออกทางลมออก ทำให้ลิ้นทางลมออกเปิด ส่วนทางลิ้นดูดอากาศก็จะปิดลง เมื่อลูกสูบของปั้มลมขยับขึ้นลงจึงเกิดการดูดและอัดอากาศขึ้น

>> การทำงานปั้มลมแบบสกรู
ภายในปั้มลมอัดอากาศ จะมีโรเตอร์เกลียวสกรูคู่กัน โดยที่สกรูที่สองเพลาที่ขบกัน จะเรียกว่า เพลาตัวผู้และเพลาตัวเมีย ทั้ง 2 ตัวเป็นสกรูที่มีทิศทางการหมุนเข้าหากันทำให้อากาศจากภายนอกถูกดูดและอัดส่งไปรอบๆกระบอกปั้ม และส่งผ่านไปทางออกเข้าสู่ถังเก็บลม โดยที่ เพลาตัวผู้และเพลาตัวเมียหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน และเพลาตัวผู้จะมีการหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเล็กน้อย การไหลของแรงลมจะราบเรียบกว่าแบบลูกสูบ

>> การทำงานปั้มลมแบบไดอะเฟรม
ระบบอัดลมลักษณะนี้จะใช้แผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวดูดอากาศ ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงแผ่นไดอะแฟรมจะดูดอากาศจากภายนอกผ่านวาล์วที่จะให้ลมผ่านเข้ามาจากภายนอก เข้ามาในห้องเก็บลม และเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสุดแผ่นไดอะแฟรมก็จะอัดอากาศภายในห้องสูบทั้งหมดผ่านวาล์วทางออกของลม เข้าไปยังถังเก็บลม

>> การทำงานปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน
ตัวเครื่องจะมีใบพัดติดอยู่กับชุดขับเคลื่อนการหมุนหรือเรียกว่า โรเตอร์ และวางให้เยื่้องศูนย์ภายในของเรือนสูบ เมื่อมีการหมุนของโรเตอร์ใบพัดก็จะอัดอากาศจากพื้นที่กว้างไปสู่ที่แคบกว่า ดูดอากาศเข้า ด้วยการหมุนที่คงที่และอัดอากาศออกทางช่องที่ลมออก

>> การทำงานปั้มลมแบบใบพัดหมุน
ใบพัดหมุน 2 ตัวจะหมุนที่ทางตรงกันข้ามกัน เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน ทำให้อากาศจะถูกดูดจากทางลมเข้าไปยังอีกช่องทางฝั่งลมออก โดยไม่ทำให้อากาศไม่ถูกบีบหรืออัดตัว

>> การทำงานปั้มลมแบบกังหัน 
เครื่องอัดลมทั้งสองแบบนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์ด้วยความเร็วสูง อากาศจะถูกดูดผ่านใบพัดด้านหนึ่งและจะอัดอากาศไปยังใบพัดอีกด้านหนึ่งโดยไหลตามแกนเพลาไปยังอีกฝั่ง สามารถกระจายลม 170-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min)

ประเภทของปั๊มลม

ปั้มลมสามารถแบ่ง 6 ประเภท

1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
เป็นเครื่องอัดลมหรือปั้มลมที่นิยมใช้ถือว่าเป็นปั้มลมที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากความสามารถอัดลม คือสร้างความดันหรือแรงดันได้ตั้งแต่ 1บาร์ (bar)ไล่ระดับไปจนถึงเป็นพันบาร์(bar) ทำให้ปั้มลมแบบลูกสูบทำได้ตั้งแต่ความดันต่ำ ความดันปานกลาง จนไปถึงความดันสูง มีแบบใช้สายพาน จะให้เสียงเงียบกว่าแบบ โรตารี่ ที่มีมอเตอร์ในตัว ข้อดีของโรตารี่คือได้ลมใช้งานที่เร็วกว่าแบบสายพาน

2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
เป็นที่นิยมในโรงงาน ตัวเครื่องมีการผลิตที่มีคุณภาพสูงในการผลิตโรเตอร์ ตัวเครื่องจะ ไม่มีลิ้นในการเปิดปิด แต่ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดีออกจากปั้มมีทั้งระบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือใช้น้ำระบายความร้อนหากเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ปั้มลมจะสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) อีกทั้งสร้างความดันได้ถึง 10 บาร์

3. เครื่องอัดลมหรือ ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)
เป็นปั๊มลมที่ใช้ตัวไดอะแฟรมทำให้การทำงานของลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกัน ดังนั้นลมที่ถูกดูดเขาในปั๊ม หรืออัดอากาศ จะไม่ได้มีการโดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ และลมที่ได้จะไม่มีการผสมน้ำมันหล่อลื่นแต่จะไม่สามารถสร้างแรงดันได้สูง ข้อดีคือลมที่ได้จากปั๊มประเภทนี้จึงมีความปลอดภัยมากและมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี และอาจะใช้ในการอุสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากเสียงที่เงียบกว่าแบบลูกสูบ

4. เครื่องอัดลมหรือ ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR)
ปั้มลมชนิดนี้ข้อดีคือเสี่ยงจะไม่ดังการทำงานของการหมุนจะเรียบมีความสมำเสมอการอัดอากาศคงที่ ไม่มีลิ้นหรือวาวล์ในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน หากต้องการประสิทธิภาพที่ดีจะต้องผลิตด้วยความประณีต สามารถกระจายลม 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) ส่วนความดันทำได้ที่ 4-10 บาร์(Bar)

5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน (ROOTS COMPRESSOR)
เครื่องนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน อากาศจะถูกดูดจากฝากหนึ่งไปยังอีกฝากหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวก็ต่อเมื่ออากาศได้ถูกส่งเข้าไปยังถังเก็บลม ปั้มลมแบบนี้ต้นทุนการผลิตจะแพง ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน แต่ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี

6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)
ปั้มลมแบบนี้จะได้อัตราการจ่ายลมที่มาก ลักษณะเป็นใบพัดกังหันดูดเข้ามาจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งด้วยการหมุนความเร็วสูง ลักษณใบพัดจึงมีส่วนสำคํญเรื่องอัตราการจ่ายลมด้วย

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาปั๊มลมอย่างถูกวิธี


ปั๊มลมที่ใช้งานอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้
มีปั๊มลมที่อายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น






1.สายพาน สายพานต้องมีความการยืดหยุ่น ประมาณ1/2 นิ้ว ถ้าสังเกตุว่ามีการแตกร้าว
ควรเปลี่ยนทันที
2.น้ำมันเครื่อง สังเกตุจากช่องดูน้ำมันเครื่องด้านล่างของลูกสูบ น้ำมันต้องอยู่ระดับกลางช่อง
จะต้องไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป เปลี่ยนถ่ายทุก 6 เดือน หรือทุก 1,000 ชั่วโมงใช้
น้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 40
3. กรองอากาศ ควรนำออกมาเป่าทำความสะอาดทุก 2 เดือน หรือเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือน
4.มอเตอร์และจุดต่อสายไฟ อย่าให้มอเตอร์โดนน้ำและความชื้น ส่วนจุดต่อสายไฟต่างๆต้อง
ตรวจดูว่ายึดติดแน่นหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการ spark ในระหว่างที่มอเตอร์ทำงาน
5.ถังเก็บลม ถังเก็บลม ควรถ่ายน้ำที่ขังอยู่ภายในถังออกทุกๆวัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีละอองน้ำ
ออกมาในขณะใช้ลมและป้องกันสนิมที่จะเกิดขึ้นภายในถังลม และควรวางปั๊มลมให้ห่างจาก
กำแพงประมาณ 30 ซ.ม.เพื่อการระบายความร้อนที่ดี

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

การทำความสะอาดปั๊มลม

วันนี้มีสาระดีๆมากฝากครับ เกี่ยวกับเรื่อง "การทำความสะอาดปั๊มลม" เมื่อมีการใช้งานปั๊มลมเสร็จหลังจากการทำงานแล้วนั้น ก็ต้องมีการทำความสะอาดตัวปั๊มลมก่อนทำการเก็บ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของปั๊มลมเพื่อกันสิ่งตกค้างจะเข้าไปอุดตันปากท่อลม โดยการทำความสะอาดด้วยท่อเปล่าอาจจะทำให้มีฝุ่นหรือเศษหินกระเด็นเข้าสู่ตาได้ เพราะเนื่องจากเมื่อแรงลมปะทะกับวัตถุไม่ว่าชนิดใดยิ่งเป็นพวกหินด้วยแล้วเมื่อโดนแรงลมที่สูงเข้าไปเมื่อกระเด็นหลุดออกมาจากปลายท่อเป่าลม เราเองไม่สามารถคาดคะเนหรือควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ตามแรงอัดของลมของวัตถุเหล่านั้นได้ ซึ่งมันอาจจะกระเด็นเข้าตาเราเองไม่ก็กระเด็นโดนส่วนอื่นของร่างกายเรา หรือกระเด็นออกไปโดนคนอื่นที่เดินอยู่หรืออยู่รอบๆ บริเวณนั้น ยิ่งหากบริเวณนั้นมีเด็กเล็กๆ อยู่ก็ยิ่งต้องระวังไว้ให้มากเพราะเด็กเหล่านั้นไม่ได้มีการระวังใดๆ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กบาดเจ็บหรือตาบอดได้ เพราะฉะนั้นการจะทำความสะอาดปั๊มลมต้องระมัดระวังห่างไกลจากคนรอบข้างและหากเป็นไปได้ควรใส่แว่นตาป้องกันการกระเด็นของเศษต่างๆ จากเครื่องเป่า เมื่อทราบถึงวิธีการทำความสะอาดปั๊มลมกันแล้วก็อย่าลืมนำไปใช้กันนะครับ


วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

ข้อดีของปั๊มลม lingheinthailand

ข้อดีของ ปั๊มลม ยี่ห้อ lingheinthailand


  1. สามารถปรับความเร็วได้ ทำให้ได้ความเร็วที่เหมาะสมตามความต้องการในการทำงาน
  2. ควบคุมการทำงานแบบ Closed Loop Control เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพคงที่อยู่ตลอดเวลา
  3. ลดต้นทุนในการผลิต
  4. สามารถปรับอุณหภูมิในการใช้งานได้หลากหาย
  5. ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักร และป้องกันการสูญเสียมอเตอร์ของปั๊มลม
  6. ลดการการชากไฟฟ้าตอนเริ่มต้น ทำให้ลดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
  7. ประหยัดพลังงาน